เมนู

นิยามในกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นภัพพสัตว์ นี้เป็นญาณในฉันทะ
เป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่องแห่งสัตว์ทั้งหลาย ของพระ-
ตถาคต.


69. อรรถกถาอาสยานุสยญาณนิทเทส


[277 - 283] พึงทราบวินิจฉัยในอาสยานุสยญาณนิทเทสดัง
ต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า อิธ ตถาคโต เป็นนิทเทสที่ท่านตั้งไว้ 5 ส่วน.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อาสยานุสยา - ฉันทะเป็นที่มานอน
และกิเลสอันนอนเนื่อง มีอรรถดังได้กล่าวไว้แล้ว.
บทว่า จริตํ - จริต คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ทำไว้แล้ว
ในชาติก่อน.
บทว่า อธิมุตฺตึ ได้แก่ การปล่อยจิตไปในกุศล หรืออกุศล
ในชาตินี้.
บทว่า ภพฺพาภพฺเพ ได้แก่ ภัพพสัตว์และอภัพพสัตว์. ชื่อว่า
ภัพพะ เพราะอรรถว่าย่อมสมภพ คือ ย่อมเกิดในอริยชาติ เป็นคำ
กล่าวถึงปัจจุบันกาล. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภัพพะ เพราะจักเป็น คือ
จักเกิด กล่าวถึงอนาคตกาล. อธิบายว่า เป็นภาชนะรองรับ. ภัพพ-

บุคคลเหล่านั้น ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยสมควรแก่การแทงตลอดอริยมรรค.
อภัพพบุคคลตรงกันข้ามกับภัพพบุคคลดังกล่าวแล้ว.
บทมีอาทิว่า กตโม จ สตฺตานํ อาสโย - ก็ฉันทะเป็นที่มา
นอนของสัตว์ทั้งหลายเป็นไฉน ? เป็นปฏินิทเทส คือ เป็นการแสดง
ทวนบทนิทเทส.
ในบทเหล่านั้นบทว่า สสฺสโต คือ เที่ยง.

บทว่า โลโก คือ อัตตา. สัตว์ทั้งหลายย่อมสำคัญว่า สรีระ
เท่านั้นสูญหายไปในโลกนี้ ส่วนอัตตานั่นแหละมีอยู่ในโลกนี้และโลก
อื่น. สัตว์ทั้งหลายกระทำความสำคัญว่า ตนนั่นแหละย่อมมองดูตน จึง
สำคัญว่าตนเป็นโลก คือ อัตตา. บทว่า อสสฺสโต คือ ไม่เที่ยง.
สัตว์ทั้งหลายสำคัญว่า อัตตาย่อมสูญหายไปพร้อมกับสรีระนั่นเอง. บทว่า
อนฺตวา - โลกมีที่สุด คือ สัตว์ทั้งหลายยังฌานให้เกิดในกสิณเล็กน้อย
แล้วสำคัญว่า จิตมีกสิณเล็กน้อยนั้นเป็นอารมณ์เป็นอัตตามีที่สุด. บทว่า
อนนฺตวา - โลกไม่มีที่สุด คือ สัตว์ทั้งหลายยังฌานในกสิณไม่มีประ-
มาณ ให้เกิดแล้วสำคัญว่า จิตมีกสิณไม่มีประมาณนั้นเป็นอัตตาไม่มีที่
สุด. บทว่า ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ คือ ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
ได้แก่ ชีพและสรีระก่อนนั้นนั่นเอง. บทว่า ชีโว คือ อัตตา เป็น
นปุงสกลิงค์ เพราะลิงควิปลาส. บทว่า สรีรํ ได้แก่ ขันธบัญจก

เพราะมีสภาพเป็นกอง. บทว่า อญฺญํ ชีวํ อญฺญํ สรีรํ ชีพเป็น
อื่น สรีระก็เป็นอื่น คือ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง ขันธบัญจกก็เป็นอย่างหนึ่ง.
บทว่า โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา - สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย
แล้วย่อมเป็นอีก คือ ขันธ์สูญไปในโลกนี้เท่านั้น สัตว์เบื้องหน้าแต่
ตายแล้วยังมีอยู่ไม่สูญไป. ในบทว่า ตถาคโต นี้ อาจารย์บางพวก
กล่าวว่าเป็นชื่อของสัตว์. แต่บางพวกกล่าวว่าบทว่า ตถาคโต คือ
พระอรหันต์. สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เห็นโทษในฝ่ายว่าไม่มี จึงถือเอา
อย่างนี้.
บทว่า น โหติ ตถาคตโต ปรมฺมรณา - สัตว์เบื้องหน้า
แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หาไม่ คือ แม้ขันธ์สูญไปในโลกนี้เท่านั้น, สัตว์
เบื้องหน้าแต่ตายแล้วก็หาไม่ ไม่พินาศไป ไม่ขาดสูญไป สัตว์ทั้งหลาย
เหล่านี้ เห็นโทษในฝ่ายที่มีอยู่ จึงถือเอาอย่างนี้.
บทว่า โหติ จ น จ โหติ - สัตว์ตายไปแล้วเป็นอีกก็มี ไม่
เป็นอีกก็มี คือ สัตว์เหล่านี้เห็นโทษในการกำหนดเอาแต่ฝ่ายหนึ่ง -
แล้วถือเอาทั้งสองฝ่ายเลย.
บทว่า เนว โหติ น น โหติ - สัตว์ตายไปแล้ว เป็นอีก
ก็ไม่มี ไม่เป็นอีกก็ไม่มี คือ สัตว์เหล่านี้เห็นการถึงโทษทั้งสองในการ
กำหนดสองฝ่าย จึงถือเอาฝ่ายปฏิเสธสิ้นเชิงว่า เป็นอีกก็ไม่มี ไม่เป็น
อีกก็ไม่มี.

ต่อไปนี้เป็นนัยแห่งอรรถกถาในนิทเทสนี้ ท่านกล่าวถึงประเภท
แห่งทิฏฐิด้วยอาการ 10 มีอาทิว่า สสฺสโต โลโกติ วา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สสฺสโต โลโก - โลกเที่ยง คือ เป็น
ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยอาการยึดถือของผู้ที่ถือว่า ขันธบัญจกเป็นโลกแล้ว
ยึดถือว่าโลกนี้เที่ยง ยั่งยืนเป็นไปตลอดกาล.
บทว่า อสสฺสโต - โลกไม่เที่ยง คือ เป็นทิฏฐิที่เป็นไปโดย
อาการถือว่าสูญของผู้ยึดถือโลกว่าทำลายสูญ.

บทว่า อนฺตวา - โลกมีที่สุด คือ ทิฏฐิเป็นไปโดยอาการของ
การถือเอาว่าโลกมีที่สุดของผู้ถือรูปธรรมและอรูปธรรมในภายในสมาบัติ
ของผู้เข้ากสิณได้เล็กน้อยประมาณเท่ากระด้ง หรือประมาณเท่าถ้วยว่า
โลกนั่นแหละมีที่สุดด้วยการกำหนดกสิณ. ทิฏฐินั้น เป็นสัสสตทิฏฐิบ้าง
อุจเฉททิฏฐิบ้าง. ทิฏฐิอันเป็นไปโดยอาการถือเอาว่า โลกไม่มีที่สุด
ของผู้ถือรูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้วในภายในสมาบัติ ของผู้
เข้ากสิณนั้น ผู้ได้กสิณไพบูลย์ว่า โลกแลไม่ที่สุดด้วยกำหนดกสิณ.
ทิฏฐินั้นเป็นสัสสตทิฏฐิบ้าง เป็นอุจเฉททิฏฐิบ้าง.

บทว่า ตํ ชีวํ ตํ สรีรํ - ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น คือ
ทิฏฐิอันเป็นโดยอาการยึดถือความสูญว่า เมือสรีระสูญแม้ชีพก็สูญ

เพราะถือว่าชีพของสรีระนั่นแหละ มีการแตกไปเป็นธรรมดา. ในบท
ที่สองทิฏฐิเป็นไปโดยอาการคือความเที่ยงว่า แม้เมื่อสรีระสูญชีพก็ไม่
สูญ เพราะถือว่าชีพอื่นจากสรีระ.
ในบทนี้มีอาทิว่า โหติ ตถาคโต มีความดังต่อไปนี้.
ผู้ถือว่า สัตว์ตายไปแล้วย่อมเป็นอีก เป็นสัสสตทิฏฐิที่ 1
ผู้ถือวา ไม่เป็นอรก เป็นอุจเฉททิฏฐิที่ 2.
ผู้ถือว่า เป็นอีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี เป็นเอกัจจสัสสตทิฏฐิที่ 3.
ผู้ถือว่า เป็นอีกก็หามิได้ ไม่เป็นอีกก็หามิได้ เป็นอมราวิกเขป-
ทิฏฐิที่ 4.
ศัพท์ว่า อิติ เป็นศัพท์แสดงทิฏฐินิสัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ภวทิฏฺฐิสนฺนิสฺสิตา วา สตฺตา โหนฺติ วิภวทิฏฺฐิ-
สนฺนิสฺสิตา วา -
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อาศัยทิฏฐิในภพก็มี อาศัยทิฏฐิ
ในความปราศจากภพก็มี ความว่า ความเที่ยงท่านกล่าวว่า ภพ ทิฏฐิ
เกิดด้วยสามารถความเที่ยง ชื่อว่า ภวทิฏฐิ. อธิบายว่า บทว่า ภโว
คือ ทิฏฐิ. ความสูญท่านกล่าวว่า วิภวะ. ทิฏฐิ เกิดด้วยสามารถความ
สูญ ชื่อว่า วิภวทิฏฐิ. อธิบายว่า บทว่า วิภโว คือ ทิฏฐิ 10
ดังกล่าวแล้วย่อมมีเป็น 2 อย่าง คือ ภวทิฏฐิ 1 วิภวทิฏฐิ 1. ใน
ทิฏฐิ 2 เหล่านั้นสัตว์ทั้งหลายอาศัยทิฏฐิหนึ่ง ๆ ไม่เห็นแล้วจึงติดอยู่.

วา ศัพท์ในบทนี้ว่า เอเต วา ปน อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม
- บุคคลไม่ข้องแวะที่สุดทั้งสองนี้ เป็นสมุจจยัตถะ คือ มีอรรถว่าประ-
มวลมา ดุจในบทมีอาทิว่า อคฺคิโต วา อุทกโต วา มิถุเภทา วา-
จากไฟก็ดี จากน้ำก็ดี จากการทำลายไม่ตรีก็ดี. อธิบายว่า ไม่ข้อง-
แวะ คือ ไม่ติดทั้งสองฝ่ายด้วยสามารถสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ
ดังกล่าวแล้วนั้นแล้วละเสีย. วา ศัพท์ใน บทว่า อนุโลิกา วา ขนฺติ
เป็นวิกัปปัตถะ - มีอรรถกำหนด.

บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ - ในธรรมทั้งหลาย
อันมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยและอาศัยกันเกิดขึ้น ความว่า ปัจจัยแห่งชราและ
มรณะเป็นต้น ชื่อว่า อิทัปปัจจัย. อิทัปปัจจัยนั่นแหละ ชื่อว่า
อิทัปปัจจยตา. หรือการประชุมอิทัปปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า อิทัป-
ปัจจยตา
. อนึ่ง พึงแสวงหาลักษณะในบทนี้โดยศัพทศาสตร์. ธรรม
ทั้งหลายเกิดร่วมกันและโดยชอบ เพราะอาศัยปัจจัยนั้น ๆ ชื่อว่า
ปฏิจจสมุปปันนะ. ในธรรมทั้งหลาย เพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย
นั้นและอาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านั้น.
บทว่า อนุโลมิกา คือ ชื่อว่า อนุโลม เพราะเป็นธรรม
สมควรแก่โลกุตรธรรมทั้งหลาย.
บทว่า ขนฺติ คือ ญาณ. ญาณชื่อว่า ขันติ เพราะความอดทน.

บทว่า ปฏิลทฺธา โหติ - เป็นอันได้ คือ เป็นอันสัตว์ทั้งหลาย
ได้บรรลุแล้ว. การเข้าไปอาศัยความที่ขันติเป็นอิทัปปัจจัยเป็นของสูญ
ย่อมมีได้โดยความเห็นอย่างยิ่งของผล ด้วยความเห็นอย่างยิ่งของปัจจัย
เพราะปัจจุปบันธรรมทั้งหลายเป็นไปสืบเนื่อง ในเพราะความพร้อม.
เพรียงแห่งปัจจัย ความเข้าไปอาศัย ความที่ขันติเป็นของเที่ยงในธรรม
อันอาศัยกันเกิดขึ้น ย่อมมิโดยการเห็นความเกิดขึ้นแห่งปัจจยุปบัน-
ธรรมทั้งหลายใหม่ ๆ ในเพราะความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย การเห็น
ชอบอันเป็นไปแล้วว่า ไม่สูญ ไม่เที่ยง โดยการเห็นธรรมอันอาศัยกัน
เกิดขึ้น คือ ปฏิจจสมุปบาท ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างเหล่านี้ พึง
ทราบว่า อนุโลมิกขันติ คือ ขันติอันสมควร ด้วยประการฉะนี้เป็น
อันท่านกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิทั้งสองนั้น.
บทว่า ยถาภูตํ วา ญาณํ - ยถาภูตญาณ คือ ญาณที่นำไป
ตามความเป็นจริง คือ ตามสภาพที่เป็นจริง. แม้ญาณที่เป็นไปในบท
นั้นท่านก็กล่าวว่า ยถาภูตญาณ โดยโวหาร อันเป็นวิสัย. ในนิทเทสนี้
ท่านประสงค์เอาวิปัสสนาญาณ อันมีสังขารุเบกขาญาณเป็นที่สุด. แต่
ภายหลังท่านกล่าวภยตูปัฏฐานญาณว่า ยถาภูตญาณทัสนะ. หรือควร
สัมพันธ์ว่า ยถาภูตญาณ เป็นอันสัตว์ทั้งหลายได้แล้ว.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงสันดานสัตว์อันมิจฉาทิฏฐิ
อบรมด้วยบทมีอาทิว่า สสฺสโต โลโก อันสัมมาทิฏฐิอบรม ด้วยบท

มีอาทิว่า เอเต วา ปน ที่สุดสองอย่างเหล่านี้แล้วแสดงสันดานสัตว์
อันอกุศลที่เหลือและกุศลที่เหลืออบรมแล้วด้วยบทมีอาทิว่า กามํ เส-
วนฺตญฺเญว
- บุคคลผู้เสพกาม - ในบทนั้นพึงประกอบว่า พระตถาคต
ทรงทราบบุคคลผู้เสพกาม.
บทว่า เสวนฺตญฺเญว คือ ผู้เสพด้วยการประพฤติเนือง ๆ.
ชื่อว่า กามครุโก เพราะมีกิเลสกามหนักด้วยเสพมาในปางก่อน.
ชื่อว่า กามาสุโย เพราะน้อมกามในสันดานเป็นที่อาศัย.
ชื่อว่า กามาธิมุตฺโต เพราะน้อม คือ ติดในกามด้วยอำนาจ
สันดานนั้นแหละ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
คำว่า เนกขัมมะ เป็นต้น มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว. พึงทราบ
ว่า อกุศลที่เหลือ ท่านถือเอาด้วยกิเลส 3 อย่างมีกามเป็นต้น. กุศลที่
เหลือท่านถือเอาด้วยคุณธรรม 3 อย่างมีเนกขัมมะเป็นต้น. พระสารี-
บุตรเถระแสดงสันดานที่ท่านกล่าว 3 อย่าง ว่านี้เป็นกิเลสอันนอนเนื่อง
ของสัตว์ทั้งหลาย.
ส่วนในนิทเทสนี้มีนัยแห่งอรรถกถาดังต่อไปนี้. บทว่า อิติ
ภวทิฏฺสนฺนิสฺสิตา วา -
สัตว์ทั้งหลายอาศัยทิฏฐิในภพด้วยอาการอย่าง
นี้ คือ อาศัยสัสสตทิฏฐิอย่างนี้. จริงอยู่ ในที่นี้ท่านกล่าวสัสสตทิฏฐิ
ว่าเป็น ภวทิฏฐิ. และกล่าวอุจเฉททิฏฐิว่าเป็น วิภวทิฏฺฐิ. เพราะ

สัตว์ผู้มีทิฏฐิทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมดอาศัยทิฏฐิ 2 อย่างเหล่านี้แหละ
เพราะท่านสงเคราะห์ทิฏฐิทั้งหมดเข้าด้วย สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ.
แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า 1
ดูก่อนกัจจานะโดยมากสัตวโลกอาศัยทิฏฐิ
2 อย่างนี้ คือ ความมีอยู่ 1 ความไม่มีอยู่ 1.

ในสองบทนี้ บทว่า อตฺถิตา - ความมีอยู่ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ.
บทว่า นตฺถิตา - ความไม่มีอยู่ ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ. นี้เป็นฉันทะ
เป็นที่มานอน ของสัตว์ทั้งหลายผู้เป็นปุถุชนอาศัยวัฏฏะ.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เมื่อแสดงกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์
ผู้บริสุทธิ์ ผู้อาศัยวัฏฏะ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอเต วา ปน อุโภ
อนฺเต อนุปคมฺม -
ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างเหล่านี้. ในบทเหล่า
นั้น บทว่า เอเต วา ปน ก็คือ เอเต นั่นเอง. บทว่า อุโภ อนฺเต
คือ ที่สุดสองอย่าง ได้แก่ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ. บทว่า อนุป-
คมฺม
คือ ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ
ธมฺเมสุ คือ เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยและในธรรมทั้งหลายอันอาศัยกัน
เกิดขึ้น. บทว่า อนุโลมิกา ขนฺติ - อนุโลมิกขันติ คือ วิปัสสนา-
ญาณ. บทว่า ยถาภูตํ. ญาณํ คือ มรรคญาณ. นี้ท่านอธิบายไว้ว่า
1. สํ. นิ. 16/43.

วิปัสสนาใดเป็นอันได้แล้ว เพราะไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสอง คือ สัสสต-
ทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิในปฏิจจสมุปบาทและในธรรมอันอาศัยกันเกิดขึ้น,

และมรรคญาณใดอันได้แล้ว ยิ่งไปกว่าวิปัสสนานั้น. นี้เป็นฉันทะเป็น
ที่มานอนของสัตว์ทั้งหลาย. นี้เป็นที่มานอน คือ มรรคญาณ นี้เป็นที่
อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย แม้ทั้งหมดที่อาศัยวัฏฏะและอาศัยวิวัฏฏะ. นี้เป็น
อรรถกถาที่พวกอาจารย์เห็นพ้องด้วย.

ส่วนอาจารย์วิตัณฑวาทีแสดงว่า ชื่อว่ามรรคทำลายที่อยู่ไป.
ท่านยังพูดว่า มรรคเป็นที่อยู่. ควรถามอาจารย์ผู้นั้นว่า ท่านเป็นผู้
กล่าวว่ามรรคเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้า หรือมิใช่. หากอาจารย์นั้น
ตอบว่า เราไม่ได้เป็นผู้กล่าว. ควรบอกว่า ท่านไม่รู้ เพราะท่านไม่
ได้กล่าว. หากตอบว่า เราเป็นผู้กล่าว. ควรบวกว่า นำพระสูตรมาซิ.
หากนำมาได้ ก็เป็นการดี. หากนำมาไม่ได้ ควรนำมาเองว่า ทสยิเม
ภิกฺขเว อริยวาสา, เย อริยา อาวสึสุ วา อาวสนฺติ วา อาว-
สิสฺสนฺติ วา1 - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยเจ้าทั้งหลายเหล่า
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือจักอยู่. อริยวาสะเหล่านี้มี 10 อย่าง
ดังนี้.
ความจริง พระสารีบุตรเถระแสดงสูตรมีว่าเป็นที่อยู่ของมรรค. เพราะ
ฉะนั้น นั่นเป็นการกล่าวถูกต้องแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้
1. องฺ. ทสก. 24/19.

อาสยะนี้ของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งทรงรู้แม้ในขณะเป็นไปไม่ได้ของทิฏฐิ
เหล่านี้และวิปัสสนาญาณ มรรคญาณอีกด้วย. เพราะฉะนั้นแหละท่าน
จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กามํ เสวนฺตํ เยว ชานาติ - พระตถาคตย่อม
ทรงทราบบุคคลผู้เสพกาม.

พึงทราบอธิบายในอนุสยนิทเทสดังต่อไปนี้. บทว่า อนุสยา
ชื่อว่าอนุสัย เพราะอรรถว่ากระไร ? เพราะอรรถว่าการนอนเนื่อง
อะไรเล่าชื่อว่านอนเนื่อง ? กิเลสที่ยังละไม่ได้. จริงอยู่ กิเลสเหล่านี้
ย่อมนอนเนื่องในสันดานของสัตว์นั้น ๆ เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุสัย.

บทว่า อนุเสนฺติ - ย่อมนอนเนื่อง คือ ได้เหตุอันสมควรแล้ว
จึงเกิด. เมื่อเป็นเช่นนี้พึงมีคำพูดว่า การกล่าวว่า อาการที่ยังละไม่ได้
ชื่อว่าเป็นสภาพแห่งอนุสัย และอนุสัยนั้นย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ไม่ถูก.
เพราะอนุสัยเกิดขึ้นไม่ได้. คำตอบมีดังนี้ อนุสัยมิใช่อาการที่ยังละ
ไม่ได้ แต่ท่านกล่าวถึงกิเลสที่มีกำลัง เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้
ว่าเป็นอนุสัย.


อนุสัยนั้น สัมปยุตด้วยจิต มีอารมณ์ มีเหตุ เพราะอรรถว่า
เป็นไปกับปัจจัย เป็นอกุศลโดยส่วนเดียว เป็นอดีตบ้าง อนาคตบ้าง
ปัจจุบันบ้าง เพราะฉะนั้น การกล่าวว่าอนุสัยเกิดขึ้นจึงถูก. ข้อกำหนด

อันนี้ท่านกล่าวไว้ในอภิสมยกถา โดยตั้งคำถามก่อนว่า ปจฺจุปฺปนฺเน
กิเลเส ปชหติ1
บุคคลย่อมละกิเลสทั้งหลายที่เป็นปัจจุบันได้ หรือ
กล่าววิสัชนาว่า ถามคโต อนุสยํ ปชหติ.2 ผู้มีกิเลสมีกำลัง
ก็ละอนุสัยได้ซิ เพราะความที่อนุสัยเป็นกิเลสมีอยู่ในปัจจุบัน.
ในบทภาชนีย์แห่งโมหะในอภิธรรมสังคณี ท่านกล่าวความที่
โมหะเกิดกับอกุศลจิตว่า อนุสัย คือ อวิชชา ปริยุฏฐาน คือ อวิชชา
ลิ่ม คือ อวิชชา อกุศลมูล คือ อวิชชา ในสมัยนั้นอันใดนี้ชื่อว่าโมหะ
มีในสมัยนั้น.3 ในกถาวัตถ4 ท่านกล่าวไว้ว่า อนุสัยเป็นอัพยากฤต
เป็นอเหตุกะ ไม่ประกอบด้วยจิต วาทะทั้งหมดถูกปฏิเสธ. ในอุป-
ปัชชนวาระ วาระใดวาระหนึ่งแห่ง 7 วาระ ในอนุสยยมก ท่านกล่าว
บทมีอาทิว่า กามราคานุสัยเกิดแก่ผู้ใด. ปฏิฆานุสัยย่อมเกิดแก่ผู้
นั้น.5
เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า บทว่า อนุเสนฺติ ที่ท่านกล่าวว่า
อนุสัยได้เหตุอันสมควรแล้วย่อมเกิดได้ดังนี้จึงถูกต้อง ด้วยกำหนดแบบ-
แผนนี้. แม้คำที่ท่านกล่าวว่า จิตฺตสมฺปยุตฺโต สารมฺมโณ - อนุสัย
นั้นสัมปยุด้วยจิต มีอารมณ์ดังนี้จึงเป็นอันกล่าวดีแล้ว. เพราะอนุสัย
นี้ เป็นอกุศลธรรม สัมปยุตด้วยจิตสำเร็จแล้ว ฉะนั้น ในที่นี้ควร
ตกลงกันได้.
1. ขุ. ป. 31/698. 2. ขุ. ป. 31/699. 3.อภิ. สํ. 34/300.
4. อภิ. กถา. 37/1432. 5. อภิ. ยมก. 38/1562.

ในบทมีอาทิว่า กามราคานุสโย มีความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า
กามราคานุสัย เพราะกามราคะนั้นเป็นอนุสัยโดยสภาพที่ละไม่ได้.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง กามราคานุสัย ในที่นี้
เป็นโลภะเกิดขึ้นด้วยสามารถอารมณ์ในกามาวจรธรรมที่เหลือ น่าพอ
ใจด้วยเกิดร่วมกันในจิตสหรคตด้วยโลภะและด้วยอารมณ์.
อนึ่ง ปฏิฆานุสัย เป็นโทสะเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งธรรมที่
เกิดร่วมกันในจิตที่สหรคต ด้วยโทมนัส ด้วยอำนาจอารมณ์ และด้วย
สามารถแห่งอารมณ์ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลืออันไม่น่าพอใจ.
มานานุสัย เป็นมานะเกิดขึ้น ด้วยสามารถเกิดร่วมกันในจิต
สหรคต ด้วยโลภะอันปราศจากทิฏฐิ ด้วยอำนาจอารมณ์ และอำนาจ
อารมณ์ในธรรมเป็นกามาวจรที่เหลือ และในธรรมเป็นรูปาวจรอรูปา-
วจรอันเว้นทุกขเวทนา.

ทิฎฐานุสัย เกิดในจิตสัมปยุต ด้วยทิฏฐิ 4.
วิจิกิจฉานุสัย เกิดในจิตสหรคต ด้วยวิจิกิจฉา.
อวิชชานุสัย เกิดด้วยสามารถแห่งสหชาตธรรมในอกุศลจิต 12
ด้วยอำนาจอารมณ์ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา โมหะ แม้ 3 อย่างเกิดขึ้น ด้วย
สามารถอารมณ์ในเตภูมิกธรรมที่เหลือนั่นแหละ.
ภวราคานุสัย แม้เกิดในจิตปราศจากทิฏฐิ 4 ท่านก็ไม่กล่าว

ด้วยอำนาจสหชาตะ คือ การเกิดร่วมกัน. แต่ท่านกล่าวถึงโลภะเกิด
ในรูปาวจรธรรม และอรูปาวจรธรรม ด้วยอารมณ์เท่านั้น.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงฐานะกิเลสอันนอนเนื่อง
ของอนุสัยตามที่กล่าวมาแล้ว จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยํ โลเก ดังนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า ยํ โลเก ปิยรูปํ - อารมณ์ที่น่ารักใน
โลก คือ อารมณ์ที่มีสภาพน่ารักแต่กำเนิด ที่น่ารักในโลกนี้.
บทว่า สาตรูปํ - อารมณ์ที่น่ายินดี คือ อารมณ์ที่น่ายินดีแต่
กำเนิด อันมีความชื่นชมเป็นปทัฏฐาน.
บทว่า เอตฺถ สตฺตานํ กามราคานุสโย อนุเสติ - กามราคา-
นุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์นี้ คือ กามราคานุสัย
มีสภาพยังละไม่ได้ของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องในอารมณ์ที่น่า
ปรารถนานี้. อนึ่ง ธรรม คือ กามาวจร ท่านประสงค์เอาในบทนี้ว่า
ปิยรูปํ สาตรูปํ.
เหมือนอย่างว่า คนดำน้ำ ทั้งข้างล่างข้างบนและโดยรอบก็เป็น
น้ำทั้งนั้น ฉันใด. ชื่อว่าราคะเกิดในอิฏฐารมณ์ ก็ฉันนั้น เป็นความ
ประพฤติเป็นอาจิณของสัตว์ทั้งหลาย. การเกิดปฏิฆะในอนิฏฐารมณ์ก็
เหมือนอย่างนั้น.
บทว่า อิติ อิเมสุ ทฺวีสุ ธมฺเมสุ - ในธรรมสองอย่างเหล่านี้

ก็อย่างนี้ คือ ในธรรมเป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์สองอย่าง ก็อย่าง
นั้น.
บทว่า อวิชฺชา อนุปติตา - อวิชชาตกไปตาม คือ อวิชชา-
สัมปยุตด้วยกามราคะและปฏิฆะตกไปตาม คือ ไปตามด้วยสามารถทำให้
เป็นอารมณ์. ปาฐะ ท่านตัดบทเป็น อวิชฺชา อนุปติตา อนุคตา
ก็มี.
บทว่า ตเทกฏฺโฐ - ตั้งอยู่ร่วมกันกับอวิชชานั้น คือ ตั้งอยู่
โดยความเป็นอันเดียวกับอวิชชานั้น ด้วยตั้งอยู่เป็นอันเดียวกัน เพราะ
เกิดร่วมกัน.
บทว่า มาโน จ ทิฏฺฐิ จ วิจิกิจฺฉา จ ได้แก่ นานะ 9
ทิฏฐิ 62 วิจิกิจฉา 8. โยชนาแก้ว่า มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉาตั้งอยู่ร่วม
กันกับอวิชชานั้น.
บทว่า ทฏฺฐพฺพา - พึงเห็น คือ พึงดู พึงตามลงไป. ทำทั้ง
3 ร่วมกันให้เป็นพหุวจนะ. อนึ่ง ภวราคานุสัยในนิทเทสนี้ พึงทราบ
ว่า ท่านสงเคราะห์ด้วยกามราคานุสัย.

[280] พึงทราบวินิจฉัยในจริตนิทเทส ดังต่อไปนี้. เจตนา
13 เป็นปุญญาภิสังขาร. เจตนา 12 เป็นอปุญญาภิสังขาร. เจตนา 4
เป็นอาเนญชาภิสังขาร.

ในบทเหล่านั้น กามาวจรเป็นปริตตภูมิ. นอกนั้นเป็นมหาภูมิ.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ในอภิสังขาร 3 เหล่านี้ อภิสังขาร
อย่างใด มีวิบากน้อย เป็นปริตตภูมิ. มีวิบากมากเป็นมหาภูมิ.
[281] พึงทราบวินิจฉัยในอธิมุตตินิทเทส ดังต่อไปนี้.
บทว่า สนฺติ ได้แก่ มีอยู่.
บทว่า หีนาธิมุตฺติกา - มีอธิมุตติเลว คือ มีอัธยาศัยลามก.
บทว่า ปณีตาธิมุตฺติกา - มีอธิมุตติประณีต คือ มีอัธยาศัยงาม.
บทว่า เสวนฺติ - ย่อมเสพ คือ อาศัย เกี่ยวข้อง.
บทว่า ภชนฺติ - ย่อมคบ คือ ห เข้าไปนั่งใกล้.
บทว่า ปยิรุปาสนฺติ - เข้าไปหา คือ ไปหาบ่อย ๆ.
หากว่า อาจารย์และอุปัชฌาย์ เป็นผู้ไม่มีศีล. อันเตวาสิกและ
สัทธิวิหาริก เป็นผู้มีศีล. เขาจะไม่เข้าไปหาแม้อาจารย์และอุปัชฌาย์
ของตน. จะเข้าไปหาภิกษุผู้สมควรเช่นกับตนเท่านั้น.
หากว่า อาจารย์และอุปัชฌาย์ เป็นภิกษุสมควรคือมีศีล ภิกษุ
นอกนั้นไม่สมควร. ภิกษุเหล่านั้นก็จะไม่เข้าไปหาอาจารย์และอุปัชฌาย์
จะเข้าไปหาภิกษุผู้มีอธิมุตติเลว เช่นกับตน.
อนึ่ง การเข้าไปหาอย่างนี้มิได้มีแต่ในบัดนี้เท่านั้น. พระสารี-
บุตรเถระเพื่อแสดงว่า แม้ในอดีตและอนาคตก็มี จึงกล่าวบทมีอาทิว่า
อตีตมฺปิ อทฺธานํ - กาลอันยาวนาน แม้ล่วงแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตีตมฺปิ อทฺธานํ คือ ในอดีตกาล.
บทที่เหลือ มีอรรถง่ายทั้งนั้น. ถามว่า ผู้ทุศีลเสพผู้ทุศีล. ผู้มีศีลเสพ
ผู้มีศีล. ผู้มีปัญญาทรามเสพผู้มีปัญญาทราม ผู้มีปัญญาเสพผู้มีปัญญา
ใครกำหนดไว้ ตอบว่า ธาตุแห่งอัธยาศัยกำหนดไว้.
พึงทราบวินิจฉัยในภัพพาภัพพนิทเทส ดังต่อไปนี้. พระสารี-
บุตรเถระเพื่อแสดงสิ่งที่ควรทั้งก่อนแล้วแสดงสิ่งที่ควรถือเอาในภายหลัง
จึงแสดงอภัพพสัตว์ก่อน นอกลำดับแห่งอุทเทส. แต่ในอุทเทส ท่าน
ประกอบ ภัพพ ศัพท์ ก่อน ด้วยสามารถลักษณะนิบาตเบื้องต้นแห่งบท
ที่น่านับถือและบทมีอักขระอ่อนในทวันทวสมาส.

[282 - 283 ] บทว่า กมฺมาวรเณน ด้วยธรรมเป็นเครื่อง
กั้น คือ กรรม ได้แก่ อนันตริยกรรม 5 อย่าง.
ชื่อว่า สุมนฺนาคตา - ประกอบแล้ว คือ มีความพร้อมแล้ว.
บทว่า กิเลสาวรเณน - ด้วยธรรมอันเป็นเครื่องกั้น คือ กิเลส
ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ. ทั้งสองบทนี้ ชื่อว่า อาวรณะ เพราะกั้นสวรรค์
และมรรค. แม้กรรมมีการประทุษร้ายภิกษุณีเป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์
ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรมนั่นแหละ.
บทว่า วิปากาวรเณน - ด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ วิบาก
ได้แก่ อเหตุกปฏิสนธิ. เพราะการแทงตลอดอริยมรรค ย่อมไม่มีแม้

แก่ทุเหตุกะ. ฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ปฏิสนธิเป็นทุเหตุกะ ก็เป็นธรรม
เครื่องกั้น คือ วิบากนั่นแหละ.
บทว่า อสฺสทฺธา - เป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ ไม่มีศรัทธาใน
พระพุทธเจ้าเป็นต้น.
บทว่า อจฺฉนฺทิกา - ไม่มีฉันทะ คือ ไม่มีฉันทะในกุศล คือ
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ. พวกมนุษย์แคว้นอุตตรกุรุเข้าไปสู่ฐานะไม่มี
ความพอใจ.
บทว่า ทุปฺปญฺญา - มีปัญญาทราม คือ เสื่อมจากภวังคปัญญา.
อนึ่ง แม้เมื่อภวังคปัญญาบริบูรณ์ ภวังค์ของผู้ใด ยังไม่เป็นบาทของ
โลกุตระ แม้ผู้นั้นก็ยังชื่อว่าเป็นผู้ปัญญาอ่อนอยู่นั่นแหละ.
บทว่า อภพฺพา นิยามํ โอกฺกมิตุํ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺตํ-
ไม่อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ไม่ย่างเข้าสู่
อริยมรรค กล่าวคือ สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย. เพราะอริย-
มรรคเป็นสภาวะโดยชอบ จึงชื่อว่า สัมมัตตะ. อริยมรรคนั้นแหละ
เป็นสัมมัตตะในการให้ผลในลำดับ. หรือว่า ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ
มีปัญญาทราม ไม่อาจย่าง คือ เข้าไปสู่สัมมัตตนิยามนั้น เพราะตนเอง
เป็นผู้ไม่หวั่นเอง.
บทมีอาทิว่า น กมฺมาวรเณน พึงทราบโดยตรงกันข้ามกับบท
ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
จบ อรรถกถาอาสยานุสยญาณนิทเทส

ยมกปาฏิหาริยญาณนิทเทส


[284] ยมกปาฏิหาริยญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ?
ในญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่สาธารณะ
ด้วยหมู่พระสาวก คือ ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่ง
ออกจากพระกายเบื้องล่าง ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำ
พุ่งออกจากพระกายเบื้องบน, ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สาย-
น้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง
สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า, ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้อง
ขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตร
เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจาก
ช่องพระกรรณเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระ-
กรรณเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา สายน้ำพุ่ง
ออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้อง
ซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจาก
จะงอยพระอังสาเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย
ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจะงอย
พระอังสาเบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา สายน้ำพุ่ง
ออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย สายน้ำ
พุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา, ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา